The Richest Man in Babylon นิยายปรัมปราแห่งเมืองบาบิโลน : นภาพร ลิมป์ปิยากร

คนส่วนใหญ่มีความต้องการที่เหมือนๆ กันอยู่อย่างหนึ่งนั่นคือ อยากรวย เพราะมักคิดว่าการมีเงินมากๆ จะเปิดโอกาสให้ได้ในสิ่งที่อยากได้ จึงมีหนังสือมากมายพิมพ์ออกมาขาย โดยที่ผู้เขียนหวังจะให้ผู้อ่านใช้เป็นคู่มือในการเรียนรู้ เพื่อสร้างความร่ำรวย รวมทั้งเรื่อง The Richest Man in Babylon ของ George S. Clason ผู้ก่อตั้งบริษัททำแผนที่เคลสัน หนังสือเล่มเล็กๆ นี้พิมพ์ครั้งแรกตั้งแต่ปี ค.ศ.1926 ซึ่งนับถึงวันนี้ก็เป็นเวลาเกือบ 100 ปีแล้ว และมีความพิเศษกว่าเล่มอื่นๆ เพราะเป็นหนังสืออ่านประกอบสำหรับวิชาวางแผนทางการเงินในสหรัฐอเมริกา ณ วันนี้มียอดจำหน่ายแล้ว กว่า 2 ล้านเล่ม

คงเป็นที่ทราบกันแล้วว่าบาบิโลนเป็นเมืองโบราณที่ร่ำรวยจากน้ำมือมนุษย์ล้วนๆ เพราะตั้งอยู่ในหุบเขาอันแห้งแล้ง บนลุ่มแม่น้ำยูเฟรติส หรือในอิรักปัจจุบัน นอกจากจะไม่มีแม้แต่ก้อนหินที่ใช้ในการก่อสร้างแล้ว ยังไม่ตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าขายอีกด้วย อย่างไรก็ตามความจำเป็นก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่นั่นคือ การสร้างระบบชลประทาน เพื่อนำน้ำจากแม่น้ำมาใช้ในการเพาะปลูก การสร้างเขื่อน และคลองเป็นประดิษฐกรรมทางวิศวกรรมชิ้นแรกๆ ของโลก

ทำไมคนจึงอยากรวยและรวยได้อย่างไร

หนึ่งในปัญหาของเศรษฐกิจที่มีอยู่ทั่วโลก คือ ปัญหาของคนยากจนและความเหลื่อมล้ำกันของการกระจายรายได้ และมีเสียงเรียกร้องจากผู้ยากจนมาโดยตลอด ที่ต้องการให้ภาครัฐให้การช่วยเหลือด้วยมาตรการต่างๆ ซึ่งเป็นที่มาที่ไปของโครงการเอื้ออาทรต่างๆ ในสมัยหนึ่งและในรัฐบาลปัจจุบันก็กำลังจะแปลงรูปให้เป็นรัฐสวัสดิการ เนื่องจากไม่ต้องการที่จะให้มาตรการเหล่านั้น ไปเป็นเครื่องมือของบรรดานักการเมืองในอนาคต

ปัญหาความยากจนเป็นปัญหาโลกแตกที่มีอยู่ทั้งในประเทศที่ร่ำรวย หรือมหาอำนาจทางเศรษฐกิจที่เรายังเห็นคนที่ไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง (homeless) ที่นอนอยู่บนทางเท้า หรือริมถนน ขณะที่มหาเศรษฐีนั่งรถลีมูซีนคันยาวหลายวา ในชุดเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับอลังการมูลค่าที่คนจนใช้กินในรอบปี หรือในประเทศยากจนในทวีปแอฟริกา ซึ่งประเทศไทยนั้นก็กล่าวได้ว่ามีพัฒนาการดีขึ้น ทั้งนี้ จากข้อมูลสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของสำนักงานสถิติแห่งชาติ จะเห็นได้ว่าทั้งสัดส่วนและจำนวนของคนจน (ตามคำนิยามเส้นความยากจนของธนาคารโลก) ได้ลดลงมาตามลำดับ ทั้งนี้ จำนวนคนที่อยู่ต่ำกว่าเส้นความยากจนที่มีอยู่ 22.1 ล้านคน (ร้อยละ 42.21 ของประชากร) ในปี 2531 ได้ลดลงมาเหลือ 5.3 ล้านคน (ร้อยละ 5.3 ของประชากรในปี 2552) ซึ่งส่วนหนึ่งก็มาจากการที่เศรษฐกิจเติบโตได้สูง และสามารถสร้างงานรองรับแรงงานที่เพิ่มขึ้น

วิธีคิดและมุมมองแบบคนรวย ว่าเขาคิดกันอย่างไร?

คุณเคยสงสัยมั้ยว่า เราก็สู้อุตส่าห์อดออม ขยันทำงานตัวเป็นเกลียว ประหยัดเอวคอดเอวกิ่ว ไม่เคยข้องแวะกับความฟุ่มเฟือย พอมีเงินก็เอาไปต่อยอดให้มันออกดอกออกผล

เรียกว่า ทำทุกอย่างตามสูตรของการเป็นเศรษฐี ปฏิบัติทุกอย่างตามคัมภีร์แห่งความมั่งคั่ง แต่จนแล้วจนรอด ก็ยังไม่ได้เป็นเจ้าของสรรพนามคำว่าเศรษฐีอยู่ดี

ถ้าอย่างนั้น Fundamentals ฉบับนี้ จะพาไปแกะรอยไปดูว่าบรรดาเศรษฐีตัวจริง เขาคิดและมองกันอย่างไร ถึงได้มั่งคั่งอย่างยั่งยืนบนกองเงินกองทอง

ที.ฮาร์ฟ เอเคอร์ เจ้าของงานเขียน “เคล็ดลับทำใจให้เป็นเศรษฐีเงินล้าน: การคุมเกมสร้างความมั่งคั่ง” เชื่อว่า คนรวยคิดแตกต่างเกี่ยวกับเงิน และแต่ละคนมีแผนการเงินเฉพาะตัว ซึ่งคิดกำหนดขึ้นมาตลอดช่วงชีวิตในการลงทุนเกี่ยวข้องกับเงิน

ลองตามมาดูวิธีคิดและมุมมองแบบคนรวย ว่าเขาคิดกันอย่างไร?

1.คนรวยเชื่อว่าฉันสร้างชีวิตด้วยตัวเอง
พูดให้เข้าใจง่ายคือ คนที่จะรวยได้ต้องเริ่มคิดสร้างเนื้อสร้างตัวด้วยตัว เอง ไม่คิดพึ่งพิงคนอื่น สังเกตว่าพวกที่ไม่ได้เป็นเศรษฐี มักคิดแค่ว่า เราช่างโชคดีเหลือเกินที่เกิดมาบนกองเงินกองทองที่พ่ อแม่สร้างไว้ให้ ไม่ต้องทำอะไรก็มีมรดกตกทอดมาจากพ่อแม่เอาไว้ให้ใช้อ ยู่แล้ว ไม่เห็นต้องทำอะไร ก็อยู่ได้ไปชั่วชีวิต

คนรวยเขาทำกันอย่างนี้หรือ ไม่น่าถึงรวยแบบฉลาด


มีเรื่องอยู่ว่า :
      ชายชาวอินเดียคนหนึ่ง เดินเข้าไปในธนาคารกลางเมืองนิวยอร์ค ถามหาเจ้าหน้าที่สินเชื่อ ชายคนนี้บอก กับเจ้าหน้าที่สินเชื่อว่า เขาจะต้องไปทำธุระที่ประเทศอินเดีย ประมาณ 2 สัปดาห์ ก็เลยจะขอกู้เงินสัก 170,000 บาท 

เจ้าหน้าที่สินเชื่อบอกกับเขาว่า การกู้ยืมเงินจะต้องมี หลักทรัพย์ค้ำประกัน ดังนั้นชายชาวอินเดียยื่นกุญแจรถเฟอร์รารี่รุ่นใหม่ล่าสุดที่จอดอยู่หน้าธนาคาร 
พร้อมกับเสนอให้ใช้รถคันนี้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน เจ้าหน้าที่สินเชื่อจึงตกลงให้กู้เงินโดยใช้รถค้ำประกัน ผู้จัดการธนาคาร กับเจ้าหน้าที่สินเชื่อ ต่างก็ขบขันชายชาวอินเดียที่เอารถเฟอร์รารี่ราคา 8,500,000 บาท มาค้ำประกันเงินกู้ เพียงแค่ 170,000 บาท 

หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ธนาคารก็นำรถเฟอร์รารี่ขับเข้าไปจอด ที่ลานจอดรถชั้นใต้ดินของธนาคาร สองสัปดาห์ผ่านไป ชายชาวอินเดียก็กลับมาที่ธนาคาร 
พร้อมด้วยเงิน 170,000 บาท และดอกเบี้ยอีก 500 บาท นำมาชำระคืนให้กับธนาคาร เจ้าหน้าที่สินเชื่อพูดว่า 

คนรวย เขาทำอาชีพอะไรกัน

!!! พวกคนรวย เขาทำอาชีพอะไรกัน !!!

<<>>
!!คุณพร้อมแล้วหรือยัง?..ที่จะเปลี่ยนอนาคตทางการเงินให้ดีขึ้น!!

คุณอาจสงสัยในยามที่คุณขับรถผ่านหน้าบ้านหลังใหญ่ว่า

เจ้าของบ้านเขาทำอาชีพอะไรกัน...จึงได้ประสบความสำเร็จขนาดนั้น
บ่อยครั้งที่บุคคลผู้ประสบความสำเร็จที่ไม่ธรรมดา...
จะถูกมองว่าเป็นบุคคลพิเศษ...