12 วิธีวางแผนใช้เงินอย่างฉลาด

12 วิธีวางแผนใช้เงินอย่างฉลาด
1. การวางแผนการเงิน ถือเป็นข้อพึงปฏิบัติแรกที่ทุกคนจะต้องทำ ทั้งวางแผนการเงินของตัวเองและครอบครัวให้เหมาะสม ซึ่งเชื่อมโยงถึงรายได้ รายจ่าย การออม การลงทุน ภาษี การจัดการหนี้สิน และการเตรียมตัวป้องกันความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น
2. จัดงบดุลคุมค่าใช้จ่ายส่วนตัว การจัดงบประมาณหรืองบดุลจะเป็นตัวช่วยควบคุมการใช้เงินไม่ให้ออกนอกลู่นอกทาง โดยเริ่มจาก การรวมตัวเลขรายได้ การรวบรวม/จดบันทึกรายจ่าย การคาดคะเนรายจ่ายในอนาคต การทำสรุปงบประมาณ และ การติดตามการใช้จ่ายและปรับปรุงงบประมาณ
3.ออมเพลินเมินจน การเก็บออมควรแยกบัญชีเงินฝากเป็น 3บัญชี ได้แก่ บัญชีใช้จ่ายเผื่อฉุกเฉิน บัญชีเงินออม และบัญชีเพื่อการลงทุน
4. บริหารหนี้หนีกับดักทางการเงิน การไม่มีหนี้เป็นลาภอันประเสริฐ ซึ่งหนี้นั้นมีทั้ง “หนี้ดี” และ
“หนี้ฟุ่มเฟือย” ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ วิธีการที่ดีที่สุดในการลดหนี้ คือ พยายามใส่เงินจำนวนมากที่สุดโดยไม่กระทบกับรายจ่ายประจำที่จำเป็น เพื่อชำระหนี้สินที่ถูกคิดดอกเบี้ยแพงที่สุด
5. วางแผนประหยัดภาษี โดยสรรหาค่าลดหย่อน ประกอบด้วย ดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน เงินบริจาค ค่าเลี้ยงดูบุตร ค่าเลี้ยงดูบิดา-มารดาที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เบี้ยประกันชีวิต และเงินลงทุนในกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพหรือเพื่อสนับสนุนการออม
6. ก่อนจูงมือไปแต่งงาน คู่สมรสควรวางแผนอนาคตทางการเงิน และให้จัดแยกเงินออกเป็นหลายๆ บัญชีตามวัตถุประสงค์ของการใช้เงินแต่ละประเภท
7. แผนการเงินเพื่อซื้อรถยนต์ ค่าใช้จ่ายในการซื้อรถไม่ควรเกินอัตราร้อยละ 15 ของรายได้ครอบครัว เพื่อไม่ให้เกิดภาระผ่อนส่งเกินตัว
8. แผนการเงินเพื่อซื้อบ้าน ควรประเมินกำลังซื้อก่อนจะซื้อบ้าน ราคาบ้านที่จะซื้อไม่ควรเกิน 30 เท่าของรายได้ต่อเดือนของครอบครัว และ ค่าใช้จ่ายในการผ่อนบ้านรายเดือนก็ไม่ควรเกินร้อยละ 25-30 ของรายได้ต่อเดือน โดยหลักสำคัญคือ เลือกโครงการที่มีค่าใช้จ่ายต่ำที่สุด กู้เงินให้น้อยที่สุดและผ่อนชำระให้เร็วที่สุด
9.แผนการเงินเพื่อเจ้าตัวน้อย ค่าใช้จ่ายในการคลอดและเลี้ยงดูบุตรสามารถจัดการได้โดยเริ่มเก็บและบริหารเงินทันทีที่เริ่มตั้งครรภ์
10. แผนการเงินเพื่อการศึกษาลูก ในการคำนวณหาค่าเล่าเรียนต้องคิดจากค่าเงินในปัจจุบันและอนาคต โดยให้รวมค่าอัตราการเพิ่มของค่าเทอมหรือเงินเฟ้อเฉลี่ยต่อปี (ประมาณร้อยละ 5) เข้าไปด้วย
11. แผนการเงินยามเกษียณ แนะนำให้ประมาณการเงินเดือนสุดท้าย ณ วันที่จะเกษียณอายุแล้วหารด้วย 2 ตัวเลขนั้นจะเป็นค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยที่คุณต้องใช้หลังเกษียณ ในการดูว่าเงินออมก้อนที่มีในปัจจุบันพอเพียงสำหรับการดำรงชีพในอนาคตหรือไม่ ให้คำนวณเงินที่ควรมีเมื่อตอนเกษียณ โดยเอา 1 หาร 10 คูณอายุปัจจุบันและคูณรายได้ทั้งปี
12.การลงทุนและการจัดสำหรับลงทุน ควรแบ่งเงินไว้สำหรับใช้จ่ายกรณีฉุกเฉิน และกันไว้สำหรับ
สร้างหลักประกัน จากนั้น เงินที่เหลือจะเป็นเงินที่สามารถนำมาลงทุนได้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ประจำวันที่ 24 ตุลาคม 2550
http://cledlub.blogspot.com/2012/08/12.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น